เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2567 สถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต (TIMS) ได้จัดบูธกิจกรรมในงาน “Better Mind, Better Bangkok 2024” ณ ลานกิจกรรม ชั้น 3 สามย่านมิตรทาวน์ พวกเราได้ชวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมนำกระดาษรูปหัวใจมาแชร์มุมมองที่ทำงานที่ดีต่อใจในกิจกรรม “Enriching Heart Workers”
TIMS ได้รวบรวมความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า คนไทยมีความต้องการนโยบายการสนับสนุนในที่ทำงาน แบ่งออกเป็น 5 หมวด ดังนี้
- บุคคล (People) จำนวน 130 ครั้ง
- วัฒนธรรมในที่ทำงาน (Work Culture) จำนวน 67 ครั้ง
- สภาพแวดล้อม และสิ่งอำนวยความสะดวก (Environment & Facility) จำนวน 47 ครั้ง
- โปรแกรมช่วยเหลือพนักงาน และบริการด้านสุขภาพจิต (Employee Assistance Program & Mental Health Services) จำนวน 39 ครั้ง
- ค่าตอบแทน และ สวัสดิการ (Compensation & Benefits) จำนวน 20 ครั้ง
1. บุคคล (People)
เป็นประเด็นที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสนใจมากที่สุดเป็นอันดับที่หนึ่ง พูดถึงความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน และบุคลากรในที่ทำงาน
พบว่า 3 ประเด็นที่มีคนพูดถึงมากที่สุด ได้แก่
- Understanding, Empathy, Compassion (จำนวน 26 ครั้ง) เช่น “มีหัวหน้างานที่เข้าใจบริบทขององค์กร สถานการณ์ และลูกน้อง ทีมงาน” “เพื่อนร่วมงานที่รักและเข้าใจกัน” “Peers with Empathy”
- Supportive (จำนวน 16 ครั้ง) เช่น “ต้องมีหัวหน้าที่พร้อม support เสมอ” “เพื่อนร่วมงานที่คอย support กันและกัน คือ The best ที่ทำงานทุกที่ควรจะมีเป็นอันดับแรก” “เพื่อนร่วมงานที่คอย support และช่วยผลักดันให้เราเก่งขึ้น”
- Receptive to Feedback (จำนวน 15 ครั้ง) เช่น “นโยบายที่เปิดรับฟังทุกส่วน” “Feedback Space” “Anonymous commenting” “ทุกคนรับฟังความคิดเห็นกันโดยไม่คำนึงถึงตำแหน่ง”
2. วัฒนธรรมในที่ทำงาน (Work Culture)
วัฒนธรรมในที่ทำงาน คือ สิ่งที่กำหนดเป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกันของคนในองค์กร ซึ่งอยู่ในรูปแบบทัศนคติ ความเชื่อ กิจกรรม รวมถึงพฤติกรรมต่าง ๆ เป็นประเด็นที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมพูดถึงเป็นอันดับสอง
พบว่า 3 ประเด็นที่มีคนพูดถึงมากที่สุด ได้แก่
- Work hour, Workload, Work-life balance, Flexible Workplace (จำนวน 15 ครั้ง) เช่น “มีเวลาดูแลตัวเอง” “เวลาทำงานต่อวัน น้อยกว่าหรือเท่ากับ 8 ชั่วโมง” “งานไม่กินเวลาส่วนตัวมากไป” “มีอิสระในการทำงาน flexible ได้ทุกที่”
- Employee development, Growth opportunities สนับสนุนโอกาส การเติบโต การพัฒนาทักษะและความสามารถของบุคลากร (จำนวน 14 ครั้ง) เช่น “มีพื้นที่เปิดรับความคิดสร้างสรรค์” “ผลักดันให้เราเติบโตใน career path ของเรา” “เปิดโอกาสให้พนักงานได้มีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นและพัฒนาองค์กร”
- Team Building Activities & Relaxing break activities กิจกรรมนอกงาน (จำนวน 7 ครั้ง) เช่น “มีกิจกรรมผ่อนคลายและออกกำลังกาย” “ช่วงเวลาพักเล่นบอร์ดเกมร่วมกัน” “มีพื้นที่ทำกิจกรรม-รับฟังกันนอกจากเรื่องงาน เพื่อกระชับความสัมพันธ์ ลดความเครียดในที่ทำงาน”
3. สภาพแวดล้อม และสิ่งอำนวยความสะดวก (Environment & Facility)
เป็นประเด็นที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้ความสนใจเป็นอันดับที่สาม ให้มุมมองเกี่ยวกับลักษณะสภาพแวดล้อมของที่ทำงานที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลายและดีต่อสุขภาพใจ รวมถึงการมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการทำงาน
พบว่า 3 ประเด็นที่มีคนพูดถึงมากที่สุด ได้แก่
- Dedicated Space (จำนวน 15 ครั้ง) เช่น “ห้องพักใจ/ ห้องหรือพื้นที่พูดคุย ผ่อนคลาย/ ห้องไว้นอนพัก/ ห้องงีบ” “สร้างห้อง Panic Room” “มี Space ให้อยู่กับตัวเอง” “สถานที่ปลอดภัยต่อใจและกาย”
- Good vibes (จำนวน 10 ครั้ง) เช่น “มี Friendly & cozy Environment มีแสงสว่างเพียงพอ สำนักงานสวยงาม” “มีบรรยากาศที่ผ่อนคลาย/ เชิงบวก” “สภาพแวดล้อมโล่งสบาย” “การสร้าง Community ที่ดี อบอุ่น มีแต่พลังบวก”
- Food & Snacks (จำนวน 9 ครั้ง) เช่น “อาหารกลางวันฟรี” “มีขนมให้กินฟรี” “มี Snack ทุกๆ วันศุกร์” “ข้าวกลางวันบุฟเฟต์”
4. โปรแกรมช่วยเหลือพนักงาน (Employee Assistance Program)
เป็นประเด็นที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้ความสนใจเป็นอันดับที่สี่ โดยมองว่าองค์กรควรมีโปรแกรมเพื่อสนับสนุนการดูแลสุขภาพจิตในที่ทำงาน
พบว่า 3 ประเด็นที่มีคนพูดถึงมากที่สุด ได้แก่
- Mental Health service (จำนวน 14 ครั้ง) เช่น “มีนักจิตวิทยาคอยรับฟัง/ มีที่ปรึกษาทางสุขภาพจิต” “คลินิคสุขภาพจิตให้กับบุคลากร” “Free confidential Counselling” “เข้าถึงนักจิตวิทยาหรือบำบัดง่ายขึ้น” “ต้องมีคนรับฟังระบายความทุกข์ได้จริง”
- Health promotion (จำนวน 7 ครั้ง) เช่น “Psychological Safety” “Well-being activities” “Activity ที่สร้างภูมิคุ้มกันสำหรับคนทำงาน”
- Mental Health Check up (จำนวน 7 ครั้ง) เช่น “กล่องรับฟังปัญหา” “เครื่องมือที่คอยเช็คตัวเองว่า เครียดหรือกังวลอะไร” “Check List สุขภาพใจประจำเดือน”
5. ค่าตอบแทน และ สวัสดิการ (Compensation & Benefits)
เป็นประเด็นที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสนใจเป็นอันดับสุดท้าย กล่าวถึง การมีค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและสวัสดิการที่ครอบคลุม รวมถึงวันลาและเวลาพักผ่อนที่เหมาะสม
พบว่า 3 ประเด็นที่มีคนพูดถึงมากที่สุด ได้แก่
- Good Benefits (จำนวน 7 ครั้ง) เช่น “มีสวัสดิการที่ดี” “มีสวัสดิการที่ครอบคลุม ไม่ได้มีแค่เพียงแค่ค่ารักษาพยาบาล” “ได้รับรายได้/ค่าแรงที่เหมาะสม”
- Downtime (จำนวน 5 ครั้ง) เช่น “มีเวลาพักงีบช่วงบ่าย 20-30 นาที” “มีช่วงเวลาได้พักทำกิจกรรม” “มีเวลาพักที่เหมาะสมจะได้ไม่ Burn out”
- Day off & Leave (จำนวน 5 ครั้ง) เช่น “มีสิทธิลาวันสำคัญ” “ลาพักใจได้” “การมีวันหยุดพักให้กับบุคลากร”
ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็น ทุกความคิดเห็นมีค่า และเป็นเสียงสะท้อนถึงความต้องการของคนไทยในการสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งเสริมสุขภาพกายและใจ ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปเป็นแนวทางหรือนโยบายในองค์กรเพื่อการสร้างที่ทำงานที่ดีต่อใจต่อไปได้
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม