Skip to content

วันที่โพสต์

01 ส.ค. 2024

ประเภทบทความ

เสนอต่อร่าง พ.ร.บ.สุขภาพจิต

เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2567 สถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต (TIMS) และภาคีเครือข่ายจํานวนกว่า 10 องค์กรได้ประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะต่อ-ร่าง-พระราชบัญญัติสุขภาพจิ โดยการเสวนามีประเด็นสำคัญ 3 เรื่อง

  1. การตั้งกองทุนสุขภาพจิต อย่างแรกคือปัจจุบันเงินทุนสามารถนำไปจัดโครงการแล้วจบไป ไม่เพียงพอในการสร้างระบบที่ครอบคลุมดูแลสุขภาพจิตของทุกคนอย่างยั่งยืน อย่างที่สองคือการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่าวน ภาครัฐ เอกชน ภาคประชาชน รวมถึงคนที่เป็นทั้งแพทย์ และไม่ใช่แพทย์ มาระดุมทุนและมองหาทางออกร่วมกัน
  2. แยกความแตกต่างระหว่างสุขภาพจิตกับยาเสพติด “ความผิดปกติทางจิต” ไม่ได้มาจากการเสพยาเสพติดอย่างเดียว แต่อาจมาจากปัจจัยสุขภาพอื่นๆ เช่น มลพิษและสิ่งแวดล้อม และ เทคโนโลยี เป็นต้น และในทางปฏิบัตินั้นการรวมสองงานนี้อาจทำให้เกิดข้อท้าทายเช่น 1. การซ้อนทับกับหน่อยงานอื่นๆที่มีอยู่แล้ว และ 2. ภาระของหน้างานในพื้นที่ถึงแม้เราจะบอกว่าการรวมสองเรื่องนี้เข้าด้วยกัน จะเป็นฐานทางกฎหมายให้อำนาจคนทำงาน ขณะเดียวกันถ้าไม่มีแผนพัฒนาคน ก็จะทำให้งานล้นมือ
  3. เสนอให้มีการจัดการข้อมูลที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพจิต โดยการเพิ่มขอบข่ายของมาตรา 20/3 ให้ครอบคลุมข้อมูลที่คุกคามสุขภาพจิตและผลกระทบต่อสุขภาพจิต เช่น ข้อมูลและการนําเสนอที่กระตุ้นอารมณ์ทางลบของคน ทิ้งบาดแผลทางจิตใจ (trauma) ผลิตซํ้าและส่งต่อความรุนแรงและอคติรวมถึงการตีตรา และแก้งคอล เซ็นเตอร์ เป็นต้น

นอกจากนั้น มีการเสนอว่าควรให้มีการนิยาม "การมีสุขภาพจิตที่ดี เป็นสิทธิมนุษยชน" เพราะปัจจุบันเมื่อพูดถึงสุขภาพจิตนั้นคนส่วนมากมักนึกถึงคนมีปัญหาเท่านั้น แต้จริงๆแล้วการมีสุขภาพจิตที่ดีนั้นสำคัญกับมนุษย์ทุกคนเพื่อให้เขาไม่แค่ผ่านพ้นปัญหาใตแบะเติบโตงอกงามเป็นคนที่มีความสุข

หากไม่มีการนิยามนี้คาดว่าร่าง พ.ร.บ.นี้อาจสูญเสียอำนาจในการสร้างสังคม และนำไปในการแพทย์เป็นหลัก แต่สุดท้ายการแพทย์จะรับมือกับเรื่องนี้ไม่ไหวเช่นกัน เพราะปัญหาสุขภาพจิตไม่ใช่ปัญหาที่รักษาได้ผ่านการแพทย์อย่างเดียวแต่ต้องทำร่วมไปกับการพัฒนาสังคม การเลี้ยงดู และระบบนิเวศในทุกระดับ

ผลสรุปการแสดงความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติสุขภาพจิตจากผู้ตอบแบบสอบถาม 1,143 คน แสดงให้เห็นว่ามีคนเห็นด้วยกับร่างพ.ร.บ.สุขภาพจิต 98.69 %(1,128 คน) ไม่เห็นด้วย 1.31 % (15 คน) และยังมีการเห็นด้วยกับการจัดตั้ง “กองทุนสุขภาพจิตแห่งชาติ” จำนวนมากถึง 97.99% (1,120 คน)

นพ.พงศ์เกษม อธิบดีกรมสุขภาพจิต  กล่าวถึงประเด็นที่มีการควบรวมประเด็นยาเสพติดเข้ามาใน ยืนยันว่าไม่ได้ทอดทิ้งเรื่องจิตเวชทั่วไปและเห็นความสำคัญของการส่งเสริมปกป้อง ซึ่งต้องทำตั้งแต่วันเด็กจนถึงโต แต่อย่างไรก็ตาม นพ.พงศ์เกษม มองว่าเรื่องยาเสพติดกับเรื่องสมองมันไปด้วยกัน เพราะการเสพยาเสพติดส่งผลทำลายสมองให้มีอาการทางจิตเวชเช่นกัน จึงควรมีนโยบายของรัฐบาลที่จะทำเรื่องนี้ที่มันผสมผสานกันจะได้ดูแลครบวงจร นอกจากนั้นนพ.พงศ์เกษม ยังเห็นด้วยกับการตั้งกองทุนสุขภาพจิตแห่งชาติ แต่ต้องพยายามให้ไม่ซ้ำซ้อนกับจุดอื่นๆ เช่น กรมบัญชีกลาง ประกันสังคม หรือบัตรทอง

อ่านข้อเสนอแนะต่อ (ร่าง) พระราชบัญญัติสุขภาพจิต: ข้อเสนอแนะต่อ-ร่าง-พระราชบัญญัติสุขภาพจิต

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ThaiPBS

 

อ้างอิง

Thai PBS (2024, August 30). ตรงประเด็น - น้ําท่วม เยียวยาใจไหม | Thai PBS รายการไทยพีบีเอส [Video]. Thai PBS. https://www.thaipbs.or.th/program/ActiveFocus/episodes/103647

ชําแหละ ร่าง พ.ร.บ. สุขภาพจิต ฉบับใหม่. (2024, July 31). https://policywatch.thaipbs.or.th/article/life-56

ร่างพรบ.สุขภาพจิต ผ่านรับฟังความคิดเห็น หนุน 98% เห็นด้วยตั้งกองทุนเฉพาะ | hfocus.org. (2024, August 31). Hfocus.org. https://www.hfocus.org/content/2024/08/31365

เลิศบำรุงชัย, ว. (2024, August 8). สธ. ขานรับข้อเสนอ ร่างพ.ร.บ.สุขภาพจิต หนุนส่งเสริมป้องกันทุกมิติ | The Active. The Active. https://theactive.net/news/public-health-20230508-2/

เลิศบำรุงชัย, ว. (2024, August 2). เปิดข้อเสนอ 'เครือข่ายสุขภาวะทางจิต' ต่อร่าง พ.ร.บ.สุขภาพจิต | The Active. The Active. https://theactive.net/news/publichealth-20240802-2/

วันที่โพสต์

01 ส.ค. 2024

ประเภทบทความ

ผู้เขียน

แชร์คอนเทนต์นี้