Skip to content

วันที่โพสต์

06 ก.ย. 2024

ประเภทบทความ

Happy Forum ทวงคืนสมาธิ แก้ปมคุกคามสุขภาวะทางจิตยุคดิจิทัล

เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 67 สถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต (TIMS) ร่วมจัดเสวนาเชิงนโยบายกับ The Active ไทยพีบีเอส และภาคีเครือข่ายในงาน Policy Forum ครั้งที่ 18 ในหัวข้อ "ทวงคืนสมาธิ แก้ปมคุกคามสุขภาวะทางจิตยุคดิจิทัล” เพื่อสร้างความตระหนักรู้เรื่องปัจจัยทางสังคมที่คุกคามสุขภาพจิตและร่วมกันสร้างข้อเสนอเชิงนโยบายในเรื่องดังกล่าว

วงเสวนาเปิดเรื่องด้วยการเปิดเผยสถานการณ์จากโครงการสำรวจสุขภาวะความเป็นอยู่ที่ดีทางดิจิทัล ปี 2567 ที่พบว่า 76% ของคนไทยใช้โซเชียลมีเดียทุกวัน นอกจากนั้นข้อมูลยังแสดงให้เห็นว่าคนส่วนมากใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการทำงาน/การเรียนหรือการบันเทิง 

การใช้เวลากับอุปกรณ์ดิจิทัลนานขนาดนี้ก็ก่อให้เกิดผลกับการมีสมาธิของผู้ใช้ ผศ.ธีรพัฒน์ อังศุชวาล จึงนำความรู้จากหนังสือเรื่อง “โลกไร้โฟกัส” (Stolen Focus) มาเป็นจุดตั้งต้นการเสวนา โดยหนังสือเขียนถึงมุมมองว่าปัญหาสุขภาพจิตไม่ใช่แค่เรื่องส่วนตัว แต่เป็นปัญหาสังคมเชิงระบบ ที่ต้องแก้ทั้งระบบ หนังสือเรื่องนี้ระบุตัวการ 12 ประการที่ส่งผลและเป็นตัวการที่เป็นการปล้นสมาธิและสุขภาพจิตของเราให้มันแย่ลง

ผศ.ธีรพัฒน์ ก็แบ่งเนื้อหาออกมาอธิบายเป็น 3 กลุ่ม 

  1. กลุ่มแรกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในสมองของมนุษย์ที่ทำให้เราไม่สามารถจดจ่อได้ การอ่านหนังสือเป็นเรื่องที่ยากกว่าการไถคลิปทั้งที่ใช้เวลาเท่าๆกัน 
  2. กลุ่มที่สองเป็นการพูดถึงตัวการภายนอกที่ไม่ได้มีแค่โทรศัพท์ แต่เป็นผู้ที่ผลิตและระบบทุนนิยมที่อยู่เบื้องหลังสิ่งเหล่านี้ที่ส่งผลกับพฤติกรรมด้วย 
  3. สุดท้ายกลุ่มที่สามเป็นการพูดถึงสิ่งที่เปลี่ยนไปในสังคมและสิ่งแวดล้อมซึ่งมีผลให้สมาธิของคนเราแย่ลง เช่น ค่านิยมในสมัยนี้ที่ไม่สนับสนุนให้เด็กไปเล่นข้างนอก จึงทำให้เด็กๆใช้เวลากับหน้าจอมากขึ้น 

เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาการสูณเสียสมาธิจึงไม่ใช่เพียงแค่หน้าที่ของบุคคล ในด้านการทำงานก็เช่นกัน อาจารย์ ดร.เจนนิเฟอร์ ชวโนวานิช พูดถึงผลของการลดคนงานและการแข่งขันที่ทำให้งานของคนๆหนึ่งเยอะและเร่งรีบขึ้นมาก จนทำให้ต้องทำหลายๆงานในเวลาเดียวกัน (Multitask) แต่จริงๆแล้วการทำหลายๆอย่างพร้อมกันนั้นมีผลทำให้ประสิทธิภาพแย่ลงเสียอีก เพราะการกระจายพลังออกไป 2-3 งานนั้นทำให้สูญเสียผลผลิตไปถึง 40% ในอีกทางนึง ถ้าต้องสลับงานไปเรื่อยๆ ก็มีผลกับประสิทธิภาพเช่นกันเพราะสมองจะทำงานหนัก อีกทั้งจะทำให้ถอนตัวออกจากงานไม่ได้แม้จะเป็นนอกเวลาทำงาน ผลสำรวจของ TIMS พบว่าการทำงานนอกเวลางานนั้นทำให้สุขภาวะทางจิตต่ำลงอย่างชัดเจน การดูแลสุขภาพจิตของคนในองค์กรก็เป็นจึงเรื่องหนึ่งที่บริษัทควรส่งเสริม และให้การดูแล โดย ดร. เจนนิเฟอร์เสนอว่าองค์กรควร 

  1. เคารพเวลาส่วนตัวของพนักงานมากขึ้น เช่นไม่ติดต่อนอกเวลางาน 
  2. มีพักเบรกระหว่างวันระยะสั้นๆ โดยให้อิสระพนักงานเป็นคนเลือกเวลาพักเอง

นอกจากภาคเอกชนแล้วรัฐก็ควรมีส่วนร่วมในการถวงคืนสมาธิและพัฒนาสุขภาพจิตเช่นกัน นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ ปัจจุบันรัฐมีความพยายามที่จะดึงทรัพยากรมาใช้ในด้านสุขภาพจิต รัฐมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและเสนอนโยบายเช่น การแก้ พ.ร.บ.สุขภาพจิต และงานต่าง ๆ เช่น Hack ใจ ด้านสุขภาพจิต ที่ทำอยู่ต่อเนื่อง 

นอกจากนั้น ผศ.ธีรพัฒน์ ได้กล่าวถึงนโยบาลสุขภาพจิตในต่างประเทศเช่น การออกแบบความเหมาะสมของอายุผู้ใช้งานในอังกฤษและยุโรป การมีกฏหมายคุ้มครองเรื่องการปฏิเสธการติดต่อของผู้ว่าจ้างในออสเตรเลีย และในไทยเองก็มีพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานซึ่งทำให้พนักงานมีสิทธิในการปฏิเสธการติดต่อจากนายจ้างนอกเวลางานได้เช่นกัน แต่ในความเป็นจริงก็ยังปฏิเสธได้น้อยมาก

“การทวงคืนสมาธิ ต้องทำในหลายระดับ ไม่ใช่แค่ความยิมยอมส่วนบุคคล แต่ต้องพูดถึงกลไกสังคม ครอบครัว โรงเรียน ที่ทำงาน ไปไกลถึง บริษัทเทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งต้องดูแลผู้ใช้งานด้วย สุดท้ายรัฐต้องมีนโยบายสาธารณะ จึงจะสามารถทวงคืนสุขภาพจิตเรามาได้” ผศ.ธีรพัฒน์ กล่าวImage 0

ดูคลิปได้ที่: https://www.thaipbs.or.th/live/special/220748

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ThaiPBS

 

อ้างอิง

HACKใจ ก่อนจม: แฮกกาธอนเพื่อสุขภาพจิตคนไทย. (2024, March 5). TIMS. Retrieved September 12, 2024, from https://www.tims.psy.chula.ac.th/en/news/hackใจ-ก่อนจม-แฮกกาธอนเพื่อ/ 

Hari, J. (2023). Stolen focus: Why you can't pay attention--and how to think deeply again. Crown.

Policy Forum ครั้งที่ 18 ทวงคืนสมาธิ แก้ปมคุกคามสุขภาวะทางจิต ยุคดิจิทัล. (2024, September 6). Retrieved September 13, 2024, from https://policywatch.thaipbs.or.th/forum/18 

Policy Watch - Thai PBS. (2024, September 13). พฤติกรรมยุคดิจิทัลทำสุขภาพจิตแย่ แก้ที่เราหรือใคร? [Image attached] [Status update]. Facebook. https://www.facebook.com/ScienceNOW/photos/a.117532185107/10156268057260108/?type=3&theater

คนไทย 76% ไม่เคยหยุดใช้โซเซียลฯ ถึงเวลาทวงคืน 'สมาธิ' ลดเสี่ยงป่วยจิตยุคดิจิทัล | The Active. (2024, September 6). The Active. https://theactive.net/news/publichealth-20240906/

อ่าน เขียน เรียนรู้. (2022, July 19). [อ่าน เขียน เรียน รู้] ชวนอ่านหนังสือ Stolen Focus: Why can’t you pay attention ใครขโมยโฟกัสของเราไป โฟกัส (Focus) หมายถึง ความสามารถจดจ่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความสามารถนี้จําเป็นต่อความคิดและการกระทําของมนุษย์ ในปัจจุบันความสามาร. Retrieved September 12, 2024, from https://www.blockdit.com/posts/62d5d82940fdc18c1ed7314f 

ไทยพีบีเอส “ทวงคืนสมาธิ” ลดเสี่ยงป่วยจิตยุคดิจิทัล จับมือภาคี ร่วมถกปัญหา หาทางแก้ปัญหาสุขภาพจิต. (2024, September 11). Thai PBS. Retrieved September 12, 2024, from https://org.thaipbs.or.th/content/7259

วันที่โพสต์

06 ก.ย. 2024

ประเภทบทความ

ผู้เขียน

แชร์คอนเทนต์นี้