Skip to content

วันที่โพสต์

07 May 2024

ประเภทบทความ

กิจกรรม Focus Group กลุ่มผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาหลักสูตรอาสาสมัครผู้ปฐมพยาบาลทางใจ

เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2567 สถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต (TIMS) ร่วมมือกับ Vulcan Coalition, Sati App และวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม Focus Group กลุ่มผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาหลักสูตรอาสาสมัครผู้ปฐมพยาบาลทางใจ (Psychological First Aids : PFA) ณ สถาบันราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

สืบเนื่องจากกิจกรรม Focus Group สำหรับอาสาสมัครผู้รับฟังเพื่อส่งเสริมสุขภาพใจในกลุ่มคนพิการ ได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากอาสาสมัครผู้รับฟังไปแล้วนั้น ในครั้งนี้จะเป็นการพูดคุยกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับคนพิการ และการเข้าถึงบริการสุขภาพที่เท่าเทียมกันของประชาชนที่มาให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีผู้เชี่ยวชาญที่เข้าร่วมกิจกรรมนี้ 9 ท่าน ดังนี้

  1. พญ.วัชรา ริ้วไพบูลย์ คณบดีวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล
  2. ผศ.ดร.ธีรพัฒน์ อังศุชวาล อาจารย์คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผู้ร่วมก่อตั้ง TIMS
  3. พญ.วรินทร พิพัฒน์เจริญชัย แพทย์ชำนาญการพิเศษ สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต
  4. คุณธิดารัตน์ นงค์ทอง นักให้คำปรึกษาเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
  5. คุณวิชุดา ครุธทอง นักให้คำปรึกษาเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
  6. อ.อุดมโชค ชูรัตน์ ประธานมูลนิธิสภาศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการประเทศไทย
  7. คุณองอาจ แก่นทอง รองประธานมูลนิธิสภาศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการประเทศไทย
  8. คุณสมวงศ์ อุไรวัฒนา ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์
  9. คุณสโรชา กิตติสิริพันธุ์ บรรณาธิการสำนักพิมพ์ผีเสื้อปีกบาง และนักจิตวิทยาอิสระ

เนื่องจากอาสาสมัครคนพิการเป็นกำลังสำคัญในกลุ่มอาสาสมัครผู้รับฟัง ทางโครงการจึงได้มีการพัฒนาปรับปรุงการเข้าถึงข้อมูลและการเข้าใช้งานระบบให้บริการที่สะดวกมากยิ่งขึ้น เพื่อให้อาสาสมัครผู้รับฟังสามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนเองได้อย่างคล่องตัวมากยิ่งขึ้น

เราได้มีการพัฒนาหลักสูตรผู้รับฟังด้วย 4S Model ดังนี้

  • Sense สอดส่อง รับฟังอย่างตั้งใจ เพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
  • Support ให้การสนับสนุน ให้ความรู้ที่เกี่ยวข้อง หรือให้ยาใจด้วยกิจกรรมทางสังคม
  • Summarize การขมวดข้อมูลเพื่อสรุปประเด็น นำพาไปสู่การจบบทสนทนา
  • Self-care การดูแลใจตัวเอง ให้ผู้รับฟังสามารถปล่อยวางและใช้ชีวิตตามปกติต่อไปได้

สิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญได้เน้นย้ำเกี่ยวกับหลักสูตรนี้ คือ นอกจากความรู้เชิงทฤษฎีและทักษะการรับฟังด้วยใจแล้ว สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ การเตรียมพร้อมทางจิตใจของอาสาสมัคร ทั้งในเรื่องทัศนคติที่มีต่อตนเอง การรับรู้ขอบเขตในการให้ความช่วยเหลือของตัวเอง แนวทางการรับฟังในสถานการณ์สี่ยง การมีพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำ รวมถึงการจำลองสถานการณ์บทบาทการเป็นผู้รับฟัง และอื่น ๆ เพื่อให้อาสาสมัครสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติได้อย่างมั่นใจมากยิ่งขึ้น

จากการพูดคุยกันครั้งนี้ TIMS ได้รับข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์เป็นในการนำไปพัฒนาเนื้อหาหลักสูตร PFA ให้เข้มข้นและมีความพร้อมมากยิ่งขึ้น หวังว่าหลักสูตร PFA จะช่วยสร้างองค์ความรู้และทักษะด้านการส่งเสริมสุขภาพจิตแล้ว เพิ่มจำนวนนักปฐมพยาบาลใจ อีกทั้งยังเสริมพลังและสร้างทางเลือกอาชีพใหม่ให้กับกลุ่มคนพิการ จนนำไปสู่การสร้างความยั่งยืนทางสุขภาพจิตได้ 

วันที่โพสต์

07 May 2024

ประเภทบทความ

ผู้เขียน

แชร์คอนเทนต์นี้