เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2566 ที่ผ่านมา คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป (The Council of the European Union) ได้มีสรุปมติเกี่ยวกับนโยบาย "สุขภาพจิต" เพื่อให้ทุกประเทศในสหภาพยุโรปหันมาเอาจริงเอาจังกับสุขภาพจิตและสุขภาวะทางจิต (mental health and wellbeing) มากขึ้นหลังจากผลักดันกันมานาน
มตินี้มีเรื่องที่สำคัญมากๆ เช่น
- พัฒนาแผนปฏิบัติด้านสุขภาพจิตในระยะยาว ที่มีระยะเวลาชัดเจน งบประมาณสนับสนุน และตัวชี้วัดความก้าวหน้า
- เน้นย้ำเรื่องสุขภาพจิตในฐานะสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ที่คนทุกคนต้องได้รับการรับรอง คุ้มครองและส่งเสริม
- ดำเนินแนวทาง "ทุกนโยบายห่วยใยสุขภาพจิต" (mental health in all policies) ที่บูรณาการสหวิทยาการและภาคส่วนต่างๆ เพราะสุขภาพจิตนั้นเกี่ยวพันกับปัจจัยกำหนดต่างๆ ทั้งสังคม เศรษฐกิจการค้า วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมอย่างซับซ้อน ให้สุขภาพจิตอยู่ในทุกการดำเนินนโยบายของรัฐ
- สร้างการมีส่วนร่วมกับคนทุกคน โดยเฉพาะกับผู้มีประสบการณ์ทางสุขภาพจิต บนหลักการ "ร่วมสร้าง-ร่วมผลิต" (co-creation) เพื่อปฏิรูปนโยบายและบริการสุขภาพจิต
- ยุติการตีตรา (stigma) และการเลือกปฏิบัติ (discrimination) ด้วยการเสริมความรอบรู้ (literacy) ด้านสุขภาพจิตให้คนทุกกลุ่ม
นอกจากนี้ ยังมีการพูดถึงความพยายามอยากให้มีการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจิต (mental health impact assessment) อีกด้วย ในเมืองไทยเอง นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพจิตและสุขภาวะทางจิตก็เริ่มพัฒนาทิศทางแบบสหภาพยุโรปนี้มากยิ่งขึ้น หลายเรื่องเราก็มีแล้วแต่ยังขาดการปฏิบัติและการร่วมมือที่ต่อเนื่องและชัดเจน เรื่องนี้สำคัญมากที่ต้องให้ทั้งคุณค่าและมูลค่า
อ้างอิง
- https://www.consilium.europa.eu/en/press/press-releases/2023/11/30/mental-health-member-states-to-take-action-across-multiple-levels-sectors-and-ages/?fbclid=IwY2xjawFjkmtleHRuA2FlbQIxMAABHYr9IEQwGU0uRhns4OCE6RFPaYPi-epEccmdFCz2La67J8Iy9o7q4oUbvg_aem_FN4_urCW_A2HgKrdaI1p8Q
- https://data.consilium.europa.eu/doc/document/ST-15971-2023-INIT/en/pdf
- https://www.mentalhealtheurope.org/